Tuesday, September 14, 2010

ส่วนประกอบของ LabVIEW

       ส่วนประกอบของ LabVIEW
ในบทนี้เราจะกล่าวถึงส่วนประกอบต่างๆของ LabVIEW เพื่อให้เข้าใจถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้งานการเขียนโปรแกรม หรือ VI พื้นฐานการการต่อสายเชื่อมใน Block Diagram ลักษณะของตัวแปร และอื่นๆ อีกหลายอย่างแม้ว่าเราไม่ได้คาดหวังว่าคุณจะสามารถเริ่มเขียน VI ได้ในบทนี้แต่ก็จะเป็นพื้นฐานในการเขียน VI ในบทต่อไป และเมื่อจบการศึกษาในบทนี้แล้วเราจะมีความรู้ในเรื่องส่วนประกอบต่างๆ ของ LabVIEWFront Panel และ Block Diagramคำสั่งใน Menu ต่างๆ เช่น Menu Bar, Tool Bar และ Pop-up Menu.การกำหนด Controls และ Indicators และชนิดของตัวแปรที่ใช้ใน LabVIEW Node, Terminal, Icon และ Connector รวมถึงการเชื่อมต่อสายระหว่าง Object ต่างๆใน Block Diagramทำความรู้จักกับอุปกรณ์บางแบบบน Palette แบบต่างๆสำหรับกิจกรรมที่จัดให้ในบทนี้จะเป็นกิจกรรมเพื่อให้เราเกิดความคุ้นเคยกับส่วนประกอบต่างๆของ LabVIEW และให้รู้จักหลักการทำงานพื้นฐานของ LabVIEW อย่างไรก็ตามเรายังจะไม่เน้นหนักด้านการเขียนโปรแกรมหรือ VI ในบทนี้ กิจกรรมต่างๆ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานเท่านั้น

1. Front Panels and Block Diagrams.

อันดับแรกเราจะแนะนำให้คุณได้รู้จักกับองค์ประกอบพื้นฐานของ LabVIEW สองส่วนคือส่วนที่ผู้ใช้จะติดต่อกับโปรแกรมหรือ Front Panel และส่วนที่ผู้เขียนจะต้องกำหนดการทำงานของโปรแกรม หรือ Block DiagramFront Panel

Front Panel 
       หรือ หน้าปัทม์คือส่วนที่ผู้ใช้จะใช้ติดต่อกับโปรแกรม ในขณะที่เราให้ VI ทำงานอยู่นั้นหน้าปัทม์นี้จะต้องทำงานร่วมอยู่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้ควบคุมสามารถให้ข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม และเมื่อข้อมูลได้รับการประมวลผลแล้วก็จะแสดงออกมาทาง Front Panel นี้ ดังนั้นหากจะเปรียบกับโปรแกรมสำเร็จรูปอื่นๆและ Front Panel นี้ก็คือ Graphic User Interface (GUI) ของ LabVIEW นั่นเอง ตัวอย่างของลักษณะของ Front Panel ใน LabVIEW เป็นไปตามรูป ซึ่งในขั้นแรกนี้ผู้ที่ยังไม่มีความคุ้นเคยกับโปรแกรมนี้อาจมองดูว่าการ สร้างองค์ประกอบต่างๆคงจะมีความยุ่งยาก แต่ถ้าหากเราเริ่มทำความเข้าใจกับ LabVIEW แล้วเราจะพบว่าการเขียน Front Panel ในลักษณะในรูปนี้ไม่ใช่สิ่งที่ยุ่งยากหรือสิ้นเปลืองเวลาในการเขียนเลย


  หากเราสังเกตจากรูปนี้เราจะพบว่าบนหน้าปัทม์ Front Panel ของ LabVIEW จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 แบบ คือ ตัวควบคุม (Controlled) และ ตัวแสดงผล (Indicator) ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 2 จะมีการทำงานต่างกันและหน้าที่ตรงกันข้ามกัน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

Controls
    Controls มีหน้าที่เป็นตัวควบคุมคือให้ค่าหรือ Input จากผู้ใช้ ลักษณะของ Controls เช่น ปุ่มปรับค่า, สะพานปิด – เปิดไฟ, แท่งเลื่อนเพื่อปรับค่า, การให้ค่าด้วยตัวเลข Digital หรืออื่นๆ ดังนั้นจากหลักการของ Controls ก็หมายความว่าเป็นการกำหนดค่าหรือแหล่ง (source) ของข้อมูล โดยปกติเราจะไม่สามารถนำข้อมูลมาแสดงผลที่ Controls ได้ และถ้าหากเราพยายามที่จะให้ Control แสดงผลข้อมูลก็จะเกิดความผิดพลาดขึ้นใน VI ของเราทันที
ตัวอย่างของ Object ที่ปกติแล้วจะทำหน้าที่เป็น Controls บน Front Panel บางประเภท จะแสดงในรูปต่อไปนี้ เราจะสังเกตเห็นว่าหากเปรียบเทียบกับในอุปกรณ์เครื่องมือวัดจริงแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้จะได้รับการกำหนดค่าจากผู้ใช้ ดังนั้นจะเห็นว่า LabVIEW พยามทำให้เราได้รู้สึกว่าใช้งานกับเครื่องมือจริงๆอยู่

Indicators
     Indicator มีหน้าที่เป็นตัวแสดงผลเพียงอย่างเดียวโดยจะรับค่าที่ได้จากแหล่งข้อมูลมาแสดงผลซึ่งอาจปรากฏในรูปของกราฟ, เข็มชี้, ระดับของเหลว หรืออื่นๆ Indicator นี้เปรียบเสมือน output เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบค่าสิ่งที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ และผู้ใช้ไม่สามารถปรับค่าบน indicator ได้โดยตรงแต่จะต้องมีแหล่งข้อมูลที่ส่งให้กับ Indicators เหล่านี้ ดังนั้นเราอาจมอง Indicator ว่าเป็นเหมือน Sink ของข้อมูล ตัวอย่างของ object ที่ปกติแล้วจะมีเป็น Indicator บางชนิดได้แสดงในรูปต่อไปนี้
ในการเขียน VI อันดับแรกคือการเขียนหน้าปัทม์ซึ่งผู้ใช้จะต้องออกแบบส่วนนี้จะจัดวางให้เหมาะสม ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป สำหรับในขั้นนี้เราเพียงแต่เน้นว่าบนหน้าปัทม์ Front Panel จะประกอบด้วยสองส่วนและการที่เราจะเลือก Controls และ Indicators เป็นเรื่องสำคัญเพราะทั้งสองนี้ไม่สามารถแทนกันได้ นั่นคือเราไม่สามารถกำหนดค่าให้ Controls แสดงค่าได้และไม่สามารถนำค่าจาก Indicators ออกไปเป็นข้อมูลของระบบได้

No comments:

Post a Comment